แชร์

เพิ่มสมองลูกน้อยในท้องด้วยวิตามิน

?      โฟลิก สิ่งจำเป็นสำหรับ ว่าที่คุณแม่

            รู้จักกับโฟลิก มีหน้าที่สำคัญคือ เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างสารพันธุกรรม RNA และ DNA และทำงานร่วมกับวิตามิน B12ในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้สมบูรณ์แข็งแรง

โฟลิกกับคุณแม่

1.สำหรับคุณแม่ โฟลิกจะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ลดปัญหาโลหิตจางให้กับคุณแม่

2.สำหรับทารก มีการวิจัยว่า หากคุณแม่รับประทานก่อนการตังครรภ์ จะช่วยลดอาการผิดปกติของทารกในครรภ์ให้ระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดโอกาสการเกิดการคลอดก่อนกำหนด

อาหารที่มีโฟลิก

โฟลิกจะมีอยู่ในอาหารทั่วไป แต่เราเลือกรับประทานให้ถูกและในปริมาณที่เพียงพอ อาหารที่มีโฟลิกอยู่มากเป็นพิเศษ ได้แก่ ยีสต์ เครื่องในสัตว์ น้ำนม ถั่วเมล็ดแห้ง หน่อไม้ เห็ด และผักใบเขียว รวมถึงในน้ำผลไม้อีกด้วย

กรดโฟลิกดีจริงติองกินก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน

?      ธาตุเหล็ก

ในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มของการสร้างเม็ดเลือดแดงเพื่อให้เพียงพอสำหรับการหมุนเวียนเลือดของมารดาและการส่งผ่านสู่ทารกในครรภ์ หากหญิงตั้งครรภ์ขาดธาตุเหล็ก จะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และถ้าเสียเลือดมากในการคลอด อาจเป็นอันตรายถุงชีวิต การได้รับธาตุเหล็กจากอาหารอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการเสริมธาตุเหล็กในรูปของยาเม็ดธาตุเหล็ก

หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ทุกคน จะได้รับย้เม็ดรวม ที่ประกอบด้วยธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม ,ไอโอดีน 150 ไมโครกรัม ,กรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม รับประทานทุกวันตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคขาดสารไอโอดีน และป้องกันความพิการแต่กำเนิดในทารกแรกเกิด (โรคหลอดประสาทไม่ปิด) ด้วย

 

เสริมไอโอดีน เพื่อลูกน้อยในท้อง

ไอโอดีน คือ แร่ธาตุที่จำเป็นในการเจริญเติบโตและสติปัญญา หากได้รับไม่เพียงพอ ลูกในท้องเสี่ยงอันตราย

แหล่งที่มาของไอโอดีน อาหารทะเล เกลือไอโอดีน เครื่องปรุงรสเสริมไอโอดีน

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ต้องรับประทานยาม็ดเสริมไอโอดีน,เหล็ก,โฟลิก ทุกวัน วันละ 1 เม็ด ตลอดการตั้งครรภ์ถึงหลังให้นมบุตร 6 เดือน

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน

?      คนปกติ 150 ไมโครกรัมต่อวัน

?      หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร 250 ไมโครกรัมต่อวัน

หากแม่ขาดไอโอดีนจะส่งผล ระดับสติปัญญาด้อย การเจริญเติบโตของสมองไม่สมบูรณ์ การพัฒนาระบบประสาทและกล้ามเนื้อผิดปกติ (พิการ)

 

คุณหมอแนะนำ

ติดตามเรา

ห้องแชทสอบถามข้อมูล
30 ตุลาคม 2567